
ในโลกธุรกิจปัจจุบัน ทุกอย่างคือต้นทุน ทั้งพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการ แรงงาน เวลา หรือแม้กระทั่งจุดเก็บสินค้าแต่ละตารางเมตร การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จทางธุรกิจ
ดังนั้น “ชั้นวางพาเลท” (Pallet Racking System) จึงมีบทบาทที่สำคัญมากในการช่วยธุรกิจบริหารต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ อาจจะยังมองไม่เห็นภาพทั้งหมด วันนี้ ttclogistics จะพาไปทำความรู้จักกับ rack และการเลือกใช้ให้เหมาะกับธุรกิจของเรา
ชั้นวางพาเลทคืออะไร?
ชั้นวางพาเลท (Pallet Racking) คือ ชั้นโครงสร้างเหล็กที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการจัดเก็บสินค้าที่วางอยู่บนพาเลท (Pallet) โดยสามารถจัดเรียงเป็นหลายระดับความสูงเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่แนวตั้งได้อย่างเต็มที่ โดยโครงสร้างหลักของชั้นวางพาเลทประกอบด้วย :
- เสาแนวตั้ง (Upright Frame) – โครงสร้างหลักที่รับน้ำหนักและยึดโครงสร้างทั้งหมด
- คานแนวนอน (Beam) – ส่วนที่รองรับพาเลทและสินค้า
- อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยต่างๆ – เช่น Wire Mesh Decking, Safety Pin และ Frame Protector
ซึ่งชั้นวางพาเลทนี้ ทำให้เราสามารถจัดเก็บของได้มากกว่าการวางบนพื้นเพียงอย่างเดียวมากถึง 3-4 เท่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของอาคารและน้ำหนักของสินค้าด้วยค่ะ
ประเภทของชั้นวางพาเลทในคลังสินค้า
การเลือกประเภทของชั้นวางพาเลท จริงๆ ควรคิดพิจารณาจากปัจจัยรวมเข้าด้วยกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะสินค้า ความถี่ในการหยิบใช้ รูปแบบการหมุนเวียนสินค้า (FIFO / LIFO) พื้นที่ของคลังหรือโรงงาน เป็นต้น
ดังนั้น เป็นเรื่องปกติที่เวลาสั่งซื้อชั้นวางพาเลท จะมีต้องมีทีมดีไซส์ที่ทำงานร่วมกับเจ้าของกิจการเพื่อให้ได้สเปคที่ตรงใจ และ เหมาะสมมากที่สุด
ที่ TTC Logistics เรามีชั้นวางพาเลทให้เลือกถึง 13 ประเภท แต่ละประเภทมีจุดเด่นและการใช้งานที่แตกต่างกัน เราจะมาแนะนำให้รู้จักไปพร้อมๆกันค่ะ
ลำดับ | ประเภทชั้นวาง | จุดเด่น | ระบบหมุนเวียน |
1 | Selective Rack | ระบบชั้นวางพาเลทที่นิยมใช้มากที่สุด เข้าถึงพาเลทได้ทุกชั้น ใช้งานง่าย เหมาะกับสินค้าที่หลากหลาย รองรับน้ำหนักสูง และปรับระดับได้ตามต้องการ | FIFO / LIFO |
2 | Micro Racking | เหมาะสำหรับสินค้าชิ้นเล็ก น้ำหนักเบา เช่น อะไหล่หรือสินค้าที่ต้องหยิบบ่อย โครงสร้างเป็นแบบ knock-down ถอดประกอบง่าย | Manual Picking |
3 | Medium Racking | รองรับน้ำหนักระดับกลาง (300–500 กก./ชั้น) เหมาะกับกล่องขนาดกลางหรืออุปกรณ์อุตสาหกรรมทั่วไป ใช้งานหยิบด้วยมือหรือรถเข็น | Manual / Partial Automation |
4 | Drive‑in Racking | ชั้นวางที่รถยกสามารถขับเข้าไปวางพาเลทภายในแถวได้โดยไม่มีทางเดิน เหมาะกับสินค้าจำนวนมากชนิดเดียวกัน ใช้ระบบ LIFO ประหยัดพื้นที่ | LIFO |
5 | Mezzanine Floor | ระบบชั้นลอยที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ในแนวตั้ง เหมาะกับคลังสินค้าที่เพดานสูง สามารถแบ่งเป็นชั้นใช้งานหลายระดับ รองรับน้ำหนักสูงถึง 1,000 กก./ตร.ม. | Multi-level |
6 | Pallet Flow Racking | ใช้ระบบลูกกลิ้งให้พาเลทไหลตามแรงโน้มถ่วงจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง เหมาะกับสินค้าที่ต้องใช้ระบบ FIFO เช่น อาหาร เครื่องดื่ม | FIFO |
7 | Push Back Racking | สามารถวางพาเลทได้หลายชั้นลึก โดยพาเลทใหม่จะดันพาเลทก่อนหน้าให้เลื่อนเข้าไปด้านใน ใช้ระบบ LIFO เหมาะกับสินค้าที่ไม่ต้องหยิบบ่อย | LIFO |
8 | Double Deep Racking | วางพาเลทซ้อนกัน 2 แถวในแนวลึก เพิ่มความจุของคลังได้มากขึ้น แต่ต้องใช้รถยกแบบพิเศษ เหมาะกับสินค้าที่มีรหัสไม่มาก | LIFO |
9 | VNA Racking | ออกแบบให้ใช้กับพื้นที่แคบ ทางเดินรถยกประมาณ 1.6–1.8 เมตร เหมาะกับคลังสินค้าที่เพดานสูง และต้องการใช้พื้นที่แนวตั้งอย่างเต็มที่ | FIFO / LIFO |
10 | Slide Racking | ชั้นวางแบบเลื่อนเข้า–ออกได้ เหมาะสำหรับแม่พิมพ์หรืออุปกรณ์หนัก ๆ ที่ต้องดึงเข้าหาเวลาหยิบ ใช้งานง่าย ลดแรงงานคน | Manual Flow |
11 | Cantilever Racking | ชั้นวางแบบไม่มีเสากลาง เหมาะกับวัสดุที่ยาว เช่น ท่อ เหล็ก แผ่นไม้ รองรับน้ำหนักเฉพาะด้านได้ดี ใช้ร่วมกับรถยกได้สะดวก | Manual / Forklift |
12 | Stacking Pallet | พาเลทซ้อนตั้งแนวตั้งได้ ถอดประกอบเคลื่อนย้ายง่าย เหมาะกับสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งบ่อย หรือใช้เก็บชั่วคราว | Manual stacking |
13 | Free Roller (Carton Flow) | ระบบลูกกลิ้งสำหรับกล่องสินค้าเล็ก ไหลตามแรงโน้มถ่วง เหมาะกับงานที่ต้องหยิบเร็ว ระบบ FIFO ใช้ในศูนย์กระจายสินค้าหรือ e-commerce | FIFO |
เลือกอย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ
การเลือกชั้นวางพาเลทที่เหมาะสมไม่ใช่เรื่องซับซ้อน แต่เพื่อความรวดเร็วของทั้งสองฝ่าย (ทางเจ้าของกิจการ และ ทีมงานออกแบบชั้นวางอุตสาหกรรม) การเตรียมข้อมูลเบื้องต้นจะช่วยให้ทำงานสะดวกมากขึ้น มาดูชุดคำถามสำคัญๆ ทั้ง 4 ข้อกันค่ะ
- ลักษณะสินค้า – ขนาด, น้ำหนัก, ความเปราะบาง
- ระบบการหมุนเวียน – ใช้ FIFO หรือ LIFO
- พื้นที่คลัง – เพดานสูงหรือไม่, มีทางเดินกว้างแค่ไหน
- ความถี่ในการหยิบสินค้า – ต้องเข้าถึงทุกพาเลทหรือเฉพาะบางล็อต
ตัวอย่างการเลือกใช้ในธุรกิจจริง
- โรงงานอาหารและเครื่องดื่ม : เนื่องจากสินค้ามีวันหมดอายุ ต้องใช้ระบบ FIFO เพื่อให้สินค้าเก่าออกก่อน เหมาะกับ Pallet Flow Racking ที่สินค้าไหลจากด้านหลังมาด้านหน้าเอง หรือ Selective Racking ที่เข้าถึงทุกพาเลทได้
- ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า : มักเก็บสินค้าเป็นล็อตใหญ่ รุ่นเดียวกัน ไม่มีปัญหาวันหมดอายุ Drive-in Racking จึงตอบโจทย์ เพราะประหยัดพื้นที่และเหมาะกับการเก็บจำนวนมาก
- ธุรกิจค้าส่งขนาดกลาง : มีหลายรหัสสินค้าแต่พื้นที่จำกัด ควรใช้ Double Deep Racking ที่เก็บได้ 2 พาเลทต่อตำแหน่ง หรือ VNA Racking ที่ใช้ทางเดินแคบแต่เก็บของได้เยอะ
จะเห็นได้ว่า..เพียงแค่วิเคราะห์ความต้องการตาม 4 ข้อนี้ ก็พอจะได้คำตอบเบื้องต้นว่าธุรกิจเราควรใช้ชั้นวางพาเลทแบบไหนแล้ว
ต้องการคำปรึกษาเฉพาะทาง?
สำหรับท่านที่ต้องการทราบว่าโรงงานหรือคลังสินค้าของตนควรใช้ชั้นวางพาเลท แบบไหนให้เหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะเพื่อความคุ้มค่าของพื้นที่สูงสุด หรือตอบโจทย์ด้านความสะดวกในการจัด operation แนะนำติดต่อสอบถามกับที่ปรึกษาของ TTC Logistics โทร: 02-998-7091-2 เรายินดีให้คำปรึกษาและช่วยเหลืออย่างเต็มที่ด้วยบริการครบวงจร:
- ออกแบบเฉพาะพื้นที่ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญ
- ติดตั้งโดยทีมวิศวกร มืออาชีพ
- รับประกันโครงสร้าง นานถึง 5 ปี
ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ มั่นใจได้ว่าคุณจะได้เพื่อนคู่คิดที่ถูกต้องสำหรับธุรกิจของคุณได้อย่างแน่นอนค่ะ